ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

คำภาษากูยโบราณที่พบใช้ร่วมกันทั้งกูยและเขมรโบราณใช้เรียกข้าวสาร

        คำภาษากูยโบราณที่พบใช้ร่วมกันทั้งกูยและเขมรโบราณใช้เรียกข้าวสาร และส่งต่อมาลูกหลานเหลนโหลนในยุคปัจจุบัน คือ រង្កោ หรือ រង្កៅ อ่านว่า /รงฺเกา/ หรือ เพี้ยนมาเป็น រង្ង៉ាវ /รงฺงาว/ เช่นในสมัยก่อนเมืองพระนคร คำว่า តាង៑អញ៑ ក្លោញ រង្កៅ เป็นตำแหน่งข้าราชการที่พระพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องข้าวสารโดยเฉพาะ
        คำว่า រង្កោ หรือ រង្កៅ อ่านว่า /รงฺเกา/ นี้ พบในจารึกหลายที่ทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย เช่น ที่ ភូមិសម្បទានកាំពី ឃុំសំបុក ស្រុកចិត្របុរី ខេត្តក្រចេះ และที่จารึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
 

        คำว่า រង្កោ หรือ រង្កៅ อ่านว่า /รงฺเกา/ หรือ เพี้ยนมาเป็น រង្ង៉ាវ /รงฺงาว/ ยังพบใช้สื่อสารพูดคุยกันในชุมชนชาวบ้านในหมู่บ้านที่มีชนชาติพันธุ์กูยอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น กูยตำบลปรือใหญ่ และบ้านใกล้เรือนเคียง มาจนถึงปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง : 
វចនានិក្រមខ្មែរបុរាណ តាមសិលាចារឹកបុរេអង្គរ សតវត្សទី​​៦-៨ រៀបរៀងដោយ​បណ្ឌិតសាស្ត្រាចារ្យ ឡុង សៀម