ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

คำภาษากูยโบราณที่พบใช้ร่วมกันทั้งกูยและเขมรโบราณใช้เรียกข้าวสาร

        คำภาษากูยโบราณที่พบใช้ร่วมกันทั้งกูยและเขมรโบราณใช้เรียกข้าวสาร และส่งต่อมาลูกหลานเหลนโหลนในยุคปัจจุบัน คือ រង្កោ หรือ រង្កៅ อ่านว่า /รงฺเกา/ หรือ เพี้ยนมาเป็น រង្ង៉ាវ /รงฺงาว/ เช่นในสมัยก่อนเมืองพระนคร คำว่า តាង៑អញ៑ ក្លោញ រង្កៅ เป็นตำแหน่งข้าราชการที่พระพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องข้าวสารโดยเฉพาะ
        คำว่า រង្កោ หรือ រង្កៅ อ่านว่า /รงฺเกา/ นี้ พบในจารึกหลายที่ทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย เช่น ที่ ភូមិសម្បទានកាំពី ឃុំសំបុក ស្រុកចិត្របុរី ខេត្តក្រចេះ และที่จารึกปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
 

        คำว่า រង្កោ หรือ រង្កៅ อ่านว่า /รงฺเกา/ หรือ เพี้ยนมาเป็น រង្ង៉ាវ /รงฺงาว/ ยังพบใช้สื่อสารพูดคุยกันในชุมชนชาวบ้านในหมู่บ้านที่มีชนชาติพันธุ์กูยอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น กูยตำบลปรือใหญ่ และบ้านใกล้เรือนเคียง มาจนถึงปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง : 
វចនានិក្រមខ្មែរបុរាណ តាមសិលាចារឹកបុរេអង្គរ សតវត្សទី​​៦-៨ រៀបរៀងដោយ​បណ្ឌិតសាស្ត្រាចារ្យ ឡុង សៀម

คำภาษากูยโบราณที่บรรพชนโบราณใช้เรียก โค หรือ วัว


#អន្រោក៑ /អន៑-រ៉ោក៑ ʔɑn-rɑk อ็อน-ร็อก / เป็นคำภาษากูยโบราณ ที่ปรากฏที่ปราสาทโลเล็ย (ប្រាសាទលលៃ) ที่เมืองเสียมเรียบ เป็นปราสาทหินอยู่ทางเหนือสุดในปราสาทกลุ่มโลเลย ในอาณาจักรเขมรโบราณ สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1435 ในสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เสร็จในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าอินทวรมัน ก็คือรา 1,100กว่าปีมาแล้ว ...แต่คนในสมัยโบราณเคยมีวัฒนธรรมที่ดีงามร่วมกันก็มีการยืมคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันกันไปมาเป็นเรื่องธรรมดา ครับ ปัจจุบันนี้ กูยตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ และกูยที่กัมพูชา ก็ยังอนุรักษ์และใช้คำนี้เรียก โค หรือ วัว มาจนถึงปัจจุบัน แต่อาจจะออกเสียงเพี้ยนแตกต่างไปบ้างเป็น អន្រ្តក់,ហ្រ្តក់ พบแถบกำปงธม หรือ អន្រោក៑ แบบกูยตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ...เป็นต้น

หมายเหตุ
*** ด้านหน้าของคำนี้ พบใช้คำว่า #គ្វាល៑ /เกวี็ยล/ นำหน้าคำว่า #អន្រោក៑ รวมเป็นคำว่า គ្វាល៑អន្រោក៑ ในยุคนั้น គ្វាល៑ คำนี้ น่าจะหมายถึง เชี่ยวชาญในด้าน....,ชำนาญในด้าน..... แต่ต่อมาในปัจจุบัน ภาษาเขมรวิวัฒน์มาเป็น ឃ្វាល เช่นในคำ ឃ្វាលគោ แปลว่า เลี้ยงวัว แต่ในภาษากูยที่กัมพูชา และกูยตำบลปรือใหญ่ ยังพบใช้คำ គ្វាល៑ นี้อยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ គ្វាល៑អន្រ្តក់,គ្វាល៑ហ្រ្តក់ หรือ គ្វាល៑អន្រោក៑ ซึ่งความหมายในปัจจุบัน គ្វាល៑ อาจชี้เฉพาะลงมาว่า เลี้ยง... เท่านั้นเอง ครับ

***ข้อสังเกตคนโบราณจะใช้ เครื่องหมาย (-៑)วิราม กำกับบนพยัญชนะท้าย เพื่อให้รู้ และบังคับว่าคำนี้ต้องออกเสียงสระสั้นเท่านั้น...ครับ

ขอบพระคุณที่มา :