ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

รูปแบบของอักษรเขมร ​​: อักษรเชรียง อักษรฌร อักษรมูล และอักษรขอม มีความแตกต่างกันอย่างไร?

​​​         รูปแบบของอักษรเขมร ในปัจจุบัน มีรูปแบบพื้นฐานโดยทั่วไป 2 รูปแบบคือ អក្សរ​ជ្រៀង(slanted script)​และអក្សរមូល(round script)​ มักพบและใช้ในการพิมพ์ข้อความในสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด เช่น นวนิยาย ตำราเรียน และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

         អក្សរឈរ(standing script)เป็นเพียงรูปแบบแนวตั้งของអក្សរ​ជ្រៀង(slanted script)และใช้สำหรับหัวเรื่องของบท​ หรือคำบรรยาย และในการประชาสัมพันธ์บางส่วนจะใช้อักษรนี้แทนที่អក្សរ​ជ្រៀង(slanted script)​ทั้งหมด

        ในส่วนของ អក្សរមូល(round script)เป็นแบบอักษรที่เก่าแก่ และมีความปราณีตบรรจงมากขึ้น ลักษณะตัวอักษรส่วนใหญ่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับអក្សរ​ជ្រៀង(slanted script)เล็กน้อย แต่มีความสะดุดตากว่า អក្សរ​ជ្រៀង(slanted script) การใช้งาน អក្សរមូល(round script)หรืออาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า​​​ อักษรบรรจง(elaborate script)ใช้สำหรับพิมพ์ชื่อหนังสือ หัวเรื่องสำคัญ หัวข้อข่าวของหนังสือพิมพ์ หัวข้อธรรมะทางศาสนา ชื่อที่มีความจำเพาะเจาจง(proper names)และจารึกบนอนุสาวรีย์สาธารณะและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

        และนอกจากนี้ ก็ยังมี អក្សរខម(cambodian script)ซึ่งมีความแตกต่างจาก អក្សរមូល(round script)เพียงเล็กน้อย แต่ดูเหมือนว่า จะพบใช้กันมากกว่าអក្សរមូល(round script) แต่ในความเข้าใจของคนทั่วไป มักจะเรียกอักษรทั้งสองแบบนี้ แบบเหมารวมกันว่า អក្សរមូល(round script)

       นี่คือแบบของอักษรเขมรทั้ง 4 แบบ ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบรูปลักษณะที่สอดคล้องกัน(concordance of script)ได้ดังตารางต่อไปนี้

អក្សរជ្រៀង    អក្សរឈរ     អក្សរមូល     អក្សរខម


แปลและเรียบเรียง: สุเพียร คำวงศ์ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ภาษา ตำราและคำภีร์ใบลาน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ(22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)

Reference : Franklin E. Huffman with the assistance of Chhom-rak Thong Lambert and Im Proum.Cambodian System of Writing and Beginning Reader with Drill and Glossary.New Haven and  London,Yale University Press,1970.

หมายเหตุ
        ศรีศักร วัลลิโภดม.ขอมคือใคร? ศรีศักร วัลลิโภดม วิจารณ์ จิตร ภูมิศักดิ์ ในวารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พฤศจิกายน ๒๕๒๕. สรุปว่า "...พวกขอมนั้นถ้ามองอย่างแคบๆ ก็หมายถึงชาวเขมรสมัยเมืองพระนครที่นับถือศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนาคติมหายาน แต่ในความหมายที่กว้างออกไปนั้นหมายรวมไปถึงกลุ่มชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่นับถือพระพุทธศาสนาคติมหายานแบบเมืองพระนครที่พัฒนาขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นต้นมา   ผู้ที่เรียกกลุ่มชนเหล่านี้ว่า ขอม ก็คือคนในรุ่นหลังที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์นั่นเอง ชาวขอมและวัฒนธรรมขอมได้เปลี่ยนแปลงและสิ้นสุดลงสมัยเมืองพระนคร  สิ่งที่หลงเหลือเกี่ยวกับขอมในทุกวันนี้ก็คือ อักษรและภาษาขอม และที่สำคัญก็คือบรรดาซากศาสนสถานที่เป็นปรางค์หรือปราสาทซึ่งชาวบ้านทั่วไปล้วนแต่บอกว่าเป็นของขอมหรือขอมมาสร้างไว้ทั้งสิ้น"